Presentation is loading. Please wait.

Presentation is loading. Please wait.

World Englishes & (Linguistic Landscape): A case study of English used on signs in tourist attractions in สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ session.

Similar presentations


Presentation on theme: "World Englishes & (Linguistic Landscape): A case study of English used on signs in tourist attractions in สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ session."— Presentation transcript:

1 World Englishes & (Linguistic Landscape): A case study of English used on signs in tourist attractions in สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ session ของดิฉันนะคะ Wipapan NGAMPRAMUAN 2nd year PhD candidate in Applied Linguistics School of English, The University of Nottingham

2 My presentation World Englishes (& Linguistic Landscape)
Research aims & research questions Research Methodology Preliminary results Contribution to Thailand Presentation ของดิฉันจะแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีหลักของงานวิจัยชิ้นนี้ ส่วนที่สอง จะเป็นวัตถุประสงค์ และคำถามของงานวิจัย ส่วนที่สามจะเป็นระเบียบวิธีวิจัย ส่วนที่สี่ จะเป็นผลงานวิจัยเบื้องต้นจากการทำ preliminary fieldwork เนื่องจากดิฉันศึกษาอยู่ในชั้นปีที่สอง และส่วนสุดท้าย ก็คือส่วนสุดท้ายก็คือ contribution to Thailand

3 English as a Lingua Franca (ELF) English as an International Language
World Englishes English as a Lingua Franca (ELF) English as an International Language - varieties of English around the world - based on social and cultural contexts - Influenced by multicultural backgrounds, sociolinguistic histories, and contexts of function on the use of English ตอนนี้ถึงเวลาทำความรู้จักกับ World Englishes แล้วค่ะ English เติม es เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความหลากของภาษาอังกฤษในรูปแบบต่าง ๆ Kachru 1989 แบ่งประเทศในโลกออกเป็น 3 กลุ่มจากการใช้ภาษาอังกฤษ กลุ่มแรก คือ inner circle หรือประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ กลุ่มที่สอง outer circle หมายถึงประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง หรือหนึ่งในภาษาราชการ และในกลุ่มสุดท้าย คือ expanding circle ซึ่งหมายถึงประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ จาก model ของ Kachru จะเห็นได้ว่าเจ้าของภาษากลายเป็นชนกลุ่มน้อยไปเลยนะคะ เนื่องจากผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทีสอง และภาษาต่างประเทศมีเป็นจำนวนมาก เมื่อภาษาอังกฤษมีการ contact กับภาษาแม่ รวมถึงพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปของผู้ใช้ ส่งผลให้เกิด variety of English หรือ World Englishes ขึ้นมานะคะ ในฐานะของอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาอังกฤษแบบ Standard norms เป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมและสนับสนุนค่ะ แต่ในความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากโอกาสในการเข้าถึง และการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของประชากรในแต่ละกลุ่มแม้จะอยู่ในประเทศเดียวกันก็ไม่เท่ากัน รวมไปถึงความสามารถในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของแต่ละบุคคลเองด้วย นักวิชาการในกลุ่ม World Englishes มองว่า ไม่ใช่ทุกคนที่อยู่ใน outer circle และ expanding circle จะสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้แบบเจ้าของภาษา ดังนั้นแทนที่จะไปคิดว่า เธอใช้ภาษาอังกฤษผิดนะ ฉันไม่คุยด้วย หรือ การใช้ภาษาอังกฤษที่แตกต่างจาก standard norm เป็นเรื่องน่าละอาย นักวิชาการในกลุ่มนี้มองว่ามันจะดีกว่าไหมที่เราจะมาทำความเข้าใจในภาษาอังกฤษที่มีรูปแบบเฉพาะตัวของผู้เราต้องติดต่อสื่อสารด้วยเป็นประจำ เพื่อการติดต่อสื่อสารที่ดีขึ้น ดังนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆ ของงานวิจัยด้านนี้ก็คือ เพื่อส่งเสริม communicative competence หรือความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อสื่อสาร ซึ่งก็สามารถต่อยอดไปสู่ area ของ intercultural communication หรือการสื่อสารระว่างผู้ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันได้ด้วย ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้จะเน้นไปถึงการศึกษารูปแบบภาษาอังกฤษของคนไทยว่ามีจุดเด่นอย่างไร และมีส่วนไหนที่ก่อให้เกิด communication breakdown หรือความล้มหลวในการสื่อสาร Bamgbose, A. (2001) ‘World Englishes and Globalization’, World Englishes, vol. 20, no.3, pp

4 Kachru’s three concentric circle model
Source: English as a global language by Crystal (2003: 61) Crystal. D. (2003) English as a Global Language. 2nd edn. Cambridge: Cambridge University Press.

5 Linguistic Landscape ‘The language of public road signs, advertising billboards, street names, place names, commercial shop signs, and public signs on government buildings combines to form the linguistic landscapes of a given territory, region, or urban agglomeration’ คราวนี้มาถึง Linguistic Landscape กันบ้าง เนื่องจากดิฉันเก็บข้อมูลงานวิจัยจากป้ายตามสถานที่ท่องเที่ยว การเก็บข้อมูลจากป้าย ก็จะไปคาบเกี่ยวกับ Linguistic landscape คือเป็นการศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์จากการเก็บข้อมูลจากป้าย งานของดิฉันจะเน้นไปที่ป้ายในสถานที่ต่าง ๆ เช่นป้ายโฆษณา ป้ายร้านค้า ป้ายตามถนนหนทางต่าง ๆ ซึ่งเป็นป้ายที่ผู้เดินทางทั่วไป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจะพบ สำหรับนักวิชาการด้านนี้ก็เชื่อว่า ป้ายเนี่ย สามารถบอกอะไรได้มากกว่าสิ่งที่เราเห็น เช่นพวกปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม Landry and Bourhis (1997: 25) Landry, R. and Bourhis, R.Y. (1997) Linguistic Landscape and Ethnolinguistic Vitality: An Empirical Study. Journal of Language and Social Psychology (16), pp

6 Previous Literature into LL in Thailand
▪ Huebner, T. (2006) Bangkok’s Linguistic Landscapes: Environment Print, Codemixing and Language Change, International Journal of Multilingualism, vol. 3, no.1, pp ▪ Backhaus, P. (2007) Linguistic Landscapes: A Comparative Study of Urban Multilingualism in Tokyo, Clevedon, Multilingual Matters. ในส่วนของงานวิจัยด้าน linguistic landscape ในประเทศไทย ก็มีอยู่สองชิ้น โดย Tom Huebner และ Peter Backhaus นะคะ งานของ Huebner จะเน้นไปที่การใช้ปนภาษา คือ code-mixing ส่วนงานของ Backhaus จะเน้นไปที่นโยบายการใช้ภาษาต่างประเทศบนป้ายในประเทศไทย ทั้งสองชิ้นจะแบ่งป้ายออกเป็น government vs non-government โดยฮุบเนอร์สรุปว่า ป้ายของรัฐจะมีภาษาไทยมากกว่าภาษาอื่น แต่ภาษาอังกฤษก็ใช้อย่างกว้างขวางเพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ แบลคฮอส สรุปว่า ป้ายของเอกชน จะมีภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เช่นภาษาจีน อารบิคซึ่งสอดคล้องกับคนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น อย่างไรก็ตามบทบาทของภาษาอื่น ๆ ก็ยังไม่เท่าภาษาอังกฤษ

7 Research aims 1) To discover the patterns of Thai English ▪Formulaic language ‘any sequence of two or more words that are perceived to be more constrained than usual in their co-occurrence’ (Hudson & Wiktorsson, 2009: 81) คราวนี้เรามาดูวัตถุประสงค์ของงานวิจัยของดิฉันกันนะคะ ข้อหนึ่ง คือ หาแพทเทินของภาษาอังกฤษของคนไทย ก็คือพวก formulaic language คือ คำที่มักมาคู่กัน บางทีมาสองคำบ้าง สามคำบ้าง เช่น คำว่า spend I ususally spend my money for บ้าง with บ้าง ซึ่งจริง ๆ ต้องใช้ on นะคะ

8 Research aims 2) To point out the features of Thai English in comparison with other Englishes especially Asian Englishes such as Chinese English, Singaporean English, Malaysian English and Japanese English ข้อที่สอง ดิฉันอยากจะชี้ให้เห็นว่า Thai English แตกต่างจาก Englishes ของประเทศอื่น ๆ อย่างไร แล้วของเรา contribute อะไรให้กับ World Englishes บ้าง

9 Research aims 3) To disclose cultural identities attached to the English language used by Thai people อันที่สาม อันนี้สำคัญเลย คือ จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย

10 Research Methodology ● Qualitative ▪ Ethnographic fieldwork
○ Observations ○ Interviews Thai people: shop owners, sign makers, government offers, tourists International visitors ในส่วนของระเบียบวิธีการวิจัยงานวิจัยดิฉันจะเป็นแนว ethnography คือ การเอาตัวผู้วิจัยเข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง อย่างป้าย ดิฉันก็ไปเก็บจากสถานที่ท่องเที่ยวมา มีหลายคนสงสัยว่า เก็บแบบไหน คือ ดิฉันเก็บหมดเลย ป้ายที่คิดว่านักท่องเที่ยวจะมองเห็น แต่ป้ายอะไรที่ลำบาก ๆ เช่นอยู่ใต้โต๊ะอะไรนี่ดิฉันฉันก็ไม่มุดไปถ่ายนะคะ มีการสำรวจสถานที่จริง ดูจำนวนชาวต่างชาติ ในกรณีที่เจอภาษาอังกฤษแบบไทย ดิฉันก็จะถามเจ้าของร้านบ้าง เด็กดูแลร้านบ้าง ว่า ทราบไม๊ว่ามันไม่ตรงกับ form มาตรฐาน แล้วดิฉันก็จะถามว่าจริง ๆ ต้องการสื่ออะไร กรณีที่เป็นป้ายของรัฐดิฉันก็ติดต่อขอสัมภาษณ์หน่วยงาน/ แผนกที่รับผิดชอบโดยตรง มีสัมภาษณ์คนทำป้าย บริษัท printing พวกนี้ด้วยค่ะ ว่า เพราะบางทีอาจจะผิดจากร้านทำป้าย ที่บริษัททำป้ายก็ได้ หลังจากนั้นดิฉันก็จะไปสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวค่ะ เอาชาวไทยก่อนบ้างว่า เข้าใจภาษาอังกฤษนี้ไม๊ หลังจากนั้นก็สัมภาษณ์ชาวต่างชาติ ว่าเข้าใจไม๊ เห็นป้ายแบบนี้แล้วรู้สึกยังไง

11 Research Methodology ● Qualitative ○ Intercultural communication
▪ Descriptive Analysis & Theoretical frameworks ○ World Englishes/ English as a lingua franca ○ Linguistic Landscape ○ Intercultural communication พอได้ข้อมูลมาเสร็จ ดิฉันก็ทำมาวิเคราะห์โดยอ้างอิงจากงานในด้าน World Englishes แล้วก็ linguistic landscape ด้วยบางส่วน แต่การวิเคราะห์เชิงนี้ มันจะได้ข้อมูลทางเดียวจากทางดิฉัน เพราะว่า เป็นการวิเคราะห์ที่ได้มาจากการอ่าน สิ่งที่ดิฉันได้เพิ่มเข้ามาคือ จากการทำ fieldwork ดิฉันก็จะนำไปต่อยอดดูว่าภาษาอังกฤษแบบไทยนี่จริง ๆแล้วมันใช้สื่อสารได้ไม๊นะคะ แล้วสุดท้ายก็อาจจะสร้าง scale ขึ้นมาว่าThai English แบบไหนมีผลมาก อันไหนมีผลน้อย เช่น adjective form กับ noun form ผิดกันแล้วมีปัญหาเยอะไม๊อะไรอย่างนี้นะคะ

12 Research Methodology ● Quantitative
▪ A Corpus of English used on signs in tourist attractions in Thailand Corpus linguistics uses large collections of both spoken and written natural texts that are stored on computers to explore different questions about language use, patterns of usage by mainly focusing on a high degree of recurrence of the individual items that are being analysed. (Reppen and Simpson, 2002; Adolphs, 2008) ในส่วนของการหาแพทเทินของ Thai English แล้วก็ดูว่า ดิฉันก็สร้าง corpus ขึ้นมานะคะ corpus ในทางภาษาศาสตร์หมายถึงการสร้าง data base ขึ้นมาในคอมพิวเตอร์ แล้วก็ใช้โปรแกรมวิเคราะห์ แพทเทินก็จะแบบ 2 คำ 3 คำ มาคู่กัน หรือเป็นคำเดี่ยว ๆ ที่พบบ่อยก็ได้ คำศัพท์ส่วนใหญ่จาก corpus เหล่านี้ สำหรับคำที่พบบ่อย ๆ ก็มันจะเอาไปพัฒนานำไปบรรจุในหนังสือเรียน

13 Data collection Periods: 1) December 2009, 2) June 2010,
3) May – June 2011 25 areas in 8 provinces: Bangkok, Ayutthaya, Sukhothai, Rachaburi, Tak, Chon Buri (Pattaya), Singburi, Kanchanaburi, Samut Sakorn Attractions: temples, markets, shopping areas, national parks and beaches 1,227 signs สำหรับข้อมูลที่ดิฉันนำมาใช้ในการวิเคราะห์ก็เก็บมาจากแหล่งท่องเที่ยวหลัก ๆ ของจังหวัดที่ดิฉันไป จริง ๆ แล้วดิฉันเก็บมาได้ประมาณสี่พันป้าย แล้วก็คัดออกมาเป็นป้ายภาษาอังกฤษอย่างเดียว ไทยอังกฤษ หรือป้าย multilingual ที่ภาษาอังกฤษเด่น สรุปตาม criteria นี้ก็เหลือ 1,227 ป้ายนะคะ

14 Data Categorisation ● Official vs. commercial signs
● Information vs. advertising ●Permanent vs. non-permanent signs สำหรับการแบ่งประเภทป้าย official หมายถึง ป้ายที่เป็นของสถานที่นั่น ส่วน commercial ก็อาจจะเป็นป้ายของพวกห้างร้าน บริษัท แล้วก็ป้ายเอกชน ป้าย official นี่น่าจะมีความเป็นกลางด้านภาษามากกว่าป้าย commercial สำหรับวัตถุประสงค์การทำป้าย ดิฉันก็จะแบ่งเป็นการให้ข้อมูล และการเน้นการโฆษณาและขายสินค้าอาจจะมีการใช้ภาษาเฉพาะกลุ่มขึ้นอยู่กับลูกค้า ป้ายที่เป็นแบบถาวร และไม่ถาวร เช่นพวกป้ายเขียนมือ ซึ่งดิฉันมองว่าป้ายที่เป็น non-permanent อาจจะมีโอกาสที่เราจะเจอ Thai English ได้มากกว่า

15 Preliminary Results ● Quantitative analysis ● Qualitative analysis
 Result from the corpus ● Qualitative analysis Theoretical frameworks from preceding literature คราวนี้มาถึงผลงานวิจัยเบื้องต้นแล้วนะคะ แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ จาก corpus และจากการวิเคราะห์ตามทฤษฎีทางวิชาการในสาขาที่กล่าวไปแล้วนะคะ

16 Preliminary results Data : 1,227 English & English dominant signs
Corpus tool: WordSmith Size : 13, 625 running words ส่วนแรกก่อน ดิฉันนำภาษาอังกฤษบนป้ายทุกคำที่เห็นมาพิมพ์ แล้วนำไปวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ copus คือ word smith นะคะ จาก 1,227 ป้าย มีคำภาษาอังกฤษทั้งหมด 13,625 คำ และนี่คือ คำภาษาอังกฤษที่พบบ่อยในประเทศไทย หมายเลข 7 น่าสนใจนะคะ คำว่า Wat แล้วก็ B ผลอันนี้ดิฉันไปพรีเซ้นกับ ผู้ฟังชาวต่างชาติมาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน ทุกคนงงนะคะ

17

18 Preliminary Results There are two broad categories of Thai English:
Grammatical features ○ misspelling / typing errors ○ punctuation marks & capitalisation ○ word order e.g. adjective and noun modification ○ parts of speech e.g. adverb, adjective, noun ○ other grammatical related issues 2. Semantic features ○ direct translation ○ different spelling systems (of the same word) ○ creativity ○ word choices ○ other sociocultural related backgrounds ในส่วนของผลการวิเคราะห์จาก framework ที่เกี่ยวข้อง ภาษาอังกฤษแบบไทยแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือ grammar กับ semantic อันแกรมม่านี่จะง่าย เพราะเราเปิดหลัก grammar เทียบเราก็ทราบนะคะ ส่วน semantic features นี่จะลึกกว่า grammar features เพราะว่าต้องมีพื้นฐานด้านสังคม วัฒนธรรม หรือ อาจจะรวมไปถึงภาษาแม่ของผู้ใช้ด้วย สำหรับคำว่า features นี่จริง ๆ พูดง่าย ๆ มันคือ mistakes, errors อะไรก็แล้วแต่จะกล่าว แต่ฟังแล้วมันจะให้ negative meaning ใน World Englishes เลยใช้คำที่ฟังแล้วดูสร้างสร้างคือ features, characteristics อะไรพวกนี้แทน สำหรับ grammatical features ของ Thai English ส่วนใหญ่ก็จะเหมือนกับ variety อื่น ๆ ก็จะเป็นพวกสะกดผิด เครื่องหมายผิด ตัวใหญ่ตัวเล็ก การเรียงสลับที่ของ adjective กับคำนาม หรือว่า รูปแบบของคำศัพท์ เช่น ใช้รูปนาม รูปคำศัพท์สลับกันอย่างนี้นะคะ ส่วน semantic features ก็จะมีพวกการแปลตรง ๆ คำต่อคำ ซึ่งก็อาจจะมีส่วนด้วยจากการพวกใช้โปรแกรมแปลภาษา คำเดียวกันสะกดต่าง การสร้างสรรค์คำใหม่ หรือว่า การเลือกใช้คำ และ ภาษาอังกฤษที่ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับประเทศไทยถึงจะ get

19 Grammatical features: misspelling/ typo
ดิฉันมีตัวอย่างของ Thai English ในส่วนของ grammatical features มาให้ดูนะคะ อันแรก จากwelcome จากคำเดียว ก็แยกเป็นสองคำ แล้วอันนีป้ายใหญ่มาก อันที่สองนี่ดิฉันชอบนะคะ ผิดนิดเดียว แต่ความใหม่เปลี่ยนเยอะ exhibition hell มีใครอยากไปไม๊คะ คราวนี้ถึงคราวผู้ฟังบ้างค่ะ มาช่วยกัน อันนี้ herb drink ผิดตรงไหนคะ ดิฉันไม่ได้ให้ตอบฟรี ๆ นะคะ ตอบถูก มีรางวัลให้ค่ะ โปสการ์ดจากลอนดอน กับ Belgium แจกจริงค่ะ รับสินค้าช่วงเบรกค่ะ อันนี้ต้องเป็น herbal drinks เพราะต้องเป็นรูป adjective นะคะ

20 CIP = ??? Semantic features
ค่ะ คราวนี้เราจะเพิ่มความท้าทายขึ้นมาอีกนิด มาในส่วนของ semantic กันบ้างนะคะ อันนี้เจอที่สถานี้แอร์พอทลิงค์ค่ะ a mortorcycle works for invite 2 letters คือ ดิฉันต้องหันไปอ่านภาษาไทยสนับสนุนเลยค่ะ กิ๊บเก๋จริง ๆอ่ะ เรามาดูประเภท creativity กันบ้างดีกว่า ค่ะ vip = very important person อันนี้ CIP พบได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิค่ะ ใครไม่เคยสังเกต งวดนี้กลับบ้านไปลองดูนะคะ ช่วยกันค่ะ CIP คืออะไรคะ commercially important person คือ นอกจากจะสำคัญแล้ว ยังต้องมีความสำคัญเชิงธุรกิจด้วย ไม่ใช่แค่เป็นผู้ยิ่งใหญ่อย่างเดียวจะเข้าได้ ต้องมีเงินด้วยค่ะ CIP = ???

21 Specific socio-cultural knowledge
Here are some examples of Thai English that is associated with our social and cultural backgrounds. You might have heard that Thailand is also known as the land of smile, as Thai people smile a lot. That’s why we have Bangkok smile bike and smile waffle. We also have a happy toilet. In this case, it means just a clean toilet.

22 Contribution to Thailand
To raise Thai people’s awareness when using English in certain contexts that can lead to communicative breakdown To be used as a resource for developing educational strategies and teaching materials to help Thai learners recognise the patterns of English language used in natural settings that can lead to successful communication or failure of communication To act as guidance for international visitors to Thailand to understand more about Thai culture and Thai society through the English language used by Thai people และสุดท้ายแล้วนะคะ งานของดิฉันจะมีประโยชน์กับประเทศไทยอย่างไร หลัก ๆ ก็จะช่วยให้คนไทยระวังการใช้ภาษาอังกฤษแบบไทย ในส่วนที่นำไปสู่ปัญหาในการสื่อสารในกรณีของคนทั่วไป นอกจากนี้สามารถใช้เป็น resource ในการพัฒนาหลักสูตร รวมถึงเอกสารการสอนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียนภาษาอังกฤษชาวไทย เช่น เรามีการใช้รูปแบบที่แตกต่างไปจาก standard norms บ่อย ๆ ก็ให้ไปทำ remark ในหนังสือ ไปเน้นย้ำไว้ สำหรับชาวต่างชาติ งานวิจัยนี้จะช่วยให้ชาวต่างชาติเข้าใจภาษาอังกฤษแบบไทยได้มากขึ้น รวมถึงเข้าใจสังคม วัฒนธรรมของเราผ่านภาษาอังกฤษที่เราใช้ เป็นการช่วยลด communication gap ไปก่อนนะคะ คือ ในระยะสั้น เรายังทำให้คนไทยทุกคนใช้ภาษาอังกฤษแบบเจ้าของภาษาไม่ได้ ก็ให้เค้าเข้าใจภาษาอังกฤษแบบเราไปก่อนละกัน และสุดท้ายสำหรับ academic world ผลงานวิจัยของดิฉันก็จะเป็นการช่วยเพิ่มงานวิชาการใน World Englishes หรือ English as a lingua franca ขึ้นมาอีกชิ้นนึงค่ะ สำหรับการนำผลงานวิจัยเข้าถึงชุมชนนะคะ ดิฉันก็จะมีการตีพิมพ์ คือ ก็คงเป็นเชิงวิชาการเล่มนึง คือ ดิฉันได้รับการติดต่อจากสำนักพิมพ์ในเครือ Cambridge ให้พิมพ์ Thesis ออกมาเป็นหนังสืออ่ะนะคะ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ตอบตกลงอะไร บอกเค้าว่ารอก่อน เพราะตอนนี้ยังไปไม่ถึงไหนเลย แล้วก็กะจะพิมพ์ออกแนวฮา ๆ นิดนึง เป็นแนว commercial เชิงภาษาอังกฤษผิดบ่อย แล้วเอาตัวอย่างป้ายฮา ๆ มาใช้ ถ้าหนังสือดิฉันออกจริง อย่าลืมช่วยกันอุดหนุนนะคะ

23 Conclusion To have a better understanding of a variety of English in Thailand, it is necessary to take contexts surrounded the displayed language into account. It appears that Thai English closely relates to unique characteristics of Thai people, Thai language, Thai culture, Thai society and the main religion, Buddhism. To lessen communication gaps, Thai people should be aware of using English in certain contexts, while international tourists should be aware of the specific social and cultural values and norms attached to the language used. และสรุปสุดท้ายนะคะ คือ เพื่อที่จะเข้าใจภาษาอังกฤษแบบไทยได้ดีขึ้น contexts รอบ ๆ ตัวภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมและวัฒนธรรม มีผลต่อการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย และจากผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า ภาษาอังกฤษแบบไทยมีส่วนสัมพันธ์อย่างยิ่งกับความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ภาษาไทย สังคม วัฒนธรรม และศาสนาพุทธ และเพื่อลดช่วงว่างระหว่างการสื่อสารระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาติ เราควรระมัดระวังการใช้ภาษาอังกฤษแบบไทยในบริบทเฉพาะซึ่งจะนำไปสู่การเข้าใจผิด ในขณะที่ชาวต่างชาติก็ควรให้ความสำคัญกับค่านิยม รวมถึงพิธีปฏิบัติต่าง ๆ ของคนไทยที่มาพร้อมกับการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยด้วยค่ะ

24 References Adolphs, S. (2008) Corpus and Context: Investigating Pragmatic Functions in Spoken Discourse, Amsterdam, John Benjamins. Bamgbose, A. (2001) ‘World Englishes and Globalization’, World Englishes, vol. 20, no. 3, pp Backhaus, P. (2007) Linguistic Landscapes: A Comparative Study of Urban Multilingualism in Tokyo, Clevedon: Multilingual Matters. Crystal. D. (2003) English as a Global Language (2nd edn.), Cambridge: Cambridge University Press. Hudson, J., Wiktorsson, M. (2009) ‘Formulaic language and the relater category – the case of about’ in Corrigan, R., Moravcsik, E.A., Ouali, H., Wheatley, K.M. (eds.), Formulaic Language Volume 1: Distribution and Historical Change, Amsterdam: John Benjamins. Huebner, T. (2006) ‘Bangkok’s Linguist Landscapes: Environment Print, Codemixing and Language Change’, International Journal of Multilingualism, vol. 3, no.1, pp Jewitt, C. (ed.)(2009) The Routledge Handbook of Multimodal Analysis, London: Routledge. Kachru, B.B. (1989) ‘Teaching World Englishes’, Indian Journal of Applied Linguistics, vol. 15, no.1, pp Kress, G. and Van Leeuwen, T. (2001) Multimodal Discourse: the Modes and Media of Contemporary Communication, London: Arnold. Landry, R and Bourhis, R.Y. (1997) ‘Linguistic Landscape and Ethnolinguistic Vitality: An Empirical Study’, Journal of Language and Social Psychology, vol. 16, pp Reppen, R., Simpson, R. (2002) ‘Corpus Linguistics’ in Schmitt, N. (ed.) An Introduction to Applied Linguistics, London, Arnold. Scollon, R. and Scollon, S.W. (2003). Discourses in Place: Language in the Material World, London: Routledge. Thomas, J. (1983) ‘Cross-Cultural Pragmatic Failure’, Applied Linguistics, vol. 4, no. 2, pp อันนี้เป็น references ที่อ้างถึงในการ present วันนี้นะคะ

25 Acknowledgement Supervisors: Source of funding:
Professor Ronald Carter & Professor Svenja Adolphs School of English, The University of Nottingham, UK Source of funding: Office of the Higher Education Commission สุดท้ายดิฉันอยากจะขอขอบคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาของดิฉัน professor ronald carter และ professor Svenja Adolps ที่ให้คำแนะนำดิฉันในการทำ project นี้ และต้องขอขอบคุณ สกอ ผู้ให้ทุนเรียนระดับปริญญาเอก ทำให้ดิฉันได้มีโอกาสมายืนอยู่ ณ จุดนี้ และสุดท้ายขอขอบคุณคณะกรรมการ TSAC 2012 ที่จัดงานดี ๆ อย่างนี้ขึ้นมา รวมถึง reviewers ทุกท่านที่ให้โอกาสดิฉันได้มาพรีเซ้นต์ด้วยนะคะ และสุดท้ายขอขอบคุณผู้ฟังที่น่ารักทุกท่านทั้งที่นี่และทาง youtube ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ TSAC 2012 Committee

26 Questions, Comments, Suggestions ?


Download ppt "World Englishes & (Linguistic Landscape): A case study of English used on signs in tourist attractions in สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ session."

Similar presentations


Ads by Google